ประเภทและวิธีการเลือกฟิล์มกรองแสงให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด

ฟิล์มกรองแสง คือ ฟิล์มพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากโพลิเอสเทอร์ เหนียว มีความบางเรียบไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิท เป็นเนื้อเดียวกับกระจก ซึ่งยึดติดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือนโดยปกติแล้วฟิล์มกรองแสงทำหน้าที่ในการลดหรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้น ฟิล์มกรองแสง ทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้นแต่ฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดีกว่า ฟิล์มกรองแสงทั่วไปจะต้องสามารถลดความร้อนและรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของการซีดจางของสีและบ่อเกิดของปัญหาทางสุขภาพได้ด้วย

1. ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต่ำโดยจะนำสีมาย้อมที่กาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติ ในการกรองแสงได้แต่สามารถลดความร้อนได้น้อย กาวที่ใช้ไม่มีคุณภาพราคาถูก อายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 3 ปีเมื่อเสื่อมสภาพ สีจะจางลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง โป่งพองกาวจะเสี่อมทำให้รบกวนทัศนวิสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มแถมฟิล์มย้อมสีนี้ยังมีผู้บริโภค ที่เข้าใจผิดอยู่ว่าติดแล้วสามารถลดความร้อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสีเข้ม (ฟิล์ม 80% หรือแสงส่องผ่านได้ประมาณ 5-10%) เพราะความเข้มของฟิล์มจะทำให้รู้สึกสบายแต่สีของฟิล์มที่เข้มมากยิ่งจะดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อยๆส่งผ่านมาในอาคารทำให้ร้อนขึ้น

2. ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์นำเอา อนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลด ความร้อน ได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 5 – 7 ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า

3. ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film) ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสุญญากาศให้อนุภาค โลหะไปเกาะติดบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนมาก ลดความร้อนได้มากพอกันกับแบบที่ 2  ประมาณ 50-70% ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสมกับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด มีราคาค่อนข้างสูง